ภาษีที่ดิน…มีกี่ประเภท
เตรียมตัวให้พร้อมกับเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การเสียภาษีที่ดินมีหลากหลายประเภท และอัตราการเสียภาษีที่ดินแต่ละประเภทก็ไม่เท่ากัน ซึ่งเราได้สรุปประเภทการเสียภาษีที่ดินออกมาแล้ว แบ่งเป็น 4 ประเภท ซึ่งได้แก่ ที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และ ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เรามาดูกันว่าแต่ละประเภท มีอัตราการเก็บภาษีที่ดิน หรือ เงื่อนไขการยกเว้น อย่างไรบ้าง
1.ที่อยู่อาศัย
ภาษีที่ดิน ประเภทที่อยู่อาศัย เรียกว่าเป็นภาษีที่ใกล้ตัวและมีผลกระทบกับทุกคนมากที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่ก็จะมีที่ดิน ปลูกบ้านเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งภาษีที่ดินที่อยู่อาศัย จะแบ่งออกเป็นแบ่ง บ้านหลังหลัก และ บ้านหลังรอง โดยบ้านหลังหลักก็คือ เจ้าของบ้านที่มีชื่อโฉนด+ทะเบียนบ้าน ส่วนบ้านหลังรอง คือ เจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนดแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ซึ่งอัตราการเสียภาษีที่ดินบ้านและที่ดินมีมูลค่ารวมกัน ของบ้านหลังแรก ต้องไม่เกิน 50 ล้านบาท เพราะกฎหมายยกเว้นภาษีให้ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ในส่วนของบ้านหลังที่ 2 จะไม่ได้รับการยกเว้นแต่อย่างใด ถ้าบ้านหลังที่สองมีมูลค่ารวมไม่เกิน 50 ล้าน จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.02% ในอัตราการเริ่มต้น แต่อัตราการเสียภาษีเพดานสูงสุดของประเภทนี้ก็จะอยู่ที่ 0.3%
2.เกษตรกรรม
ภาษีที่ดินประเภทเกษตรกรรม ที่ดินในส่วนของล้อมรั้วทำนา ล้อมรั้วสวน เลี้ยงสัตว์ ซึ่งภาษีประเภทนี้จะแบ่งออกเป็นแบบ 2 ประเภทคือ บุคคลธรรมดา (ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ) เป็นเกษตรกรทั่ว ๆ ไป มีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้ไม่ต้องกังวล เพราะกฎหมายยกเว้นให้ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ในปี 2566 เป็นต้นไป กรณีที่ดินมูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป จะเริ่มเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15% อีกหนึ่งประเภทของภาษีที่ดินเกษตรกรรม จะเป็น นิติบุคคล (ขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทเกษตรกรรม) ประเภทนี้จะไม่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีทีดินเหมือนกับประเภทบุคคลธรรมดา แต่ก็ยังเสียภาษีในอัตราไม่เกิน 0.15% เช่นกัน
3. พาณิชยกรรม
ภาษีที่ดินประเภทนี้เรียกง่ายๆว่า เป็นที่ดินที่ไม่ได้มีไว้เพื่ออยู่อาศัยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น ภาษีประเภทนี้เรียกได้ว่าไม่มีการยกเว้นการเก็บภาษีแต่อย่างใด จะมีการเรียกเก็บภาษีตั้งแต่บาทแรก แต่จะเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกิน 1.2% เท่านั้น
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินประเภทนี้อาจจะดูว่าเสียภาษีไม่เยอะ แต่ที่จริงแล้ว ที่ดินประเภทนี้ถ้าไม่มีการทำอะไรกับที่ดินเลย จะมีเกณฑ์การเสียภาษีพอๆกับภาษีประเภทพาณิชยกรรมเลยทีเดียว ยิ่งถ้าปล่อยไว้ยาวนานติดกันถึง 3 ปี จะมีเรียกการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 0.3% ส่วนในปีที่ 4 ก็จะถูกเรียกเก็บอีก 0.3% ซึ่งทุกๆ 3 ปีหากยังไม่ได้นำที่ดินมาทำประโยชน์ ก็จะถูกเรียกเก็บภาษีไปเรื่อย ๆแต่สูงสุดไม่เกิน 3% ซึ่งหากใครมีที่ดินว่างเปล่าอยากแนะนำให้นำมาทำประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น การล้อมรั้วที่ดินทำเกษตรกรรม ปลูกพืช ปลูกผัก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวก็ยังได้ แถมยังไม่ต้องเสียภาษีไปฟรีๆ โดยที่เราไม่ได้ประโยชน์จากที่ดินนี้เลย
อยากให้ทุกคนประเมินประเภทที่ดินที่ทุกคนมีอยู่ ที่ดินเราถือครองอยู่ในประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่า อยู่หรือไม่ เป็นที่ดินที่ไม่ได้ทำอะไรเลยหรือเปล่า เทวดาแนะนำให้มีการล้อมรั้วที่ดิน ล้อมรั้วสวน แปลงที่ทำเกษตรกรรม สำหรับการล้อมรั้วลวดหนามเทวดา รั้วตาข่ายเทวดาเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สามารถนำมาล้อมรั้วเพื่อทำเกษตรกรรมได้ และที่สำคัญการแปลงที่ดินเป็นที่ดินเกษตรกรรมจะช่วยให้เสียภาษีในอัตราที่ถูกลง ซึ่งภาษีที่ดินนี้จะเริ่มจัดเก็บในเดือนสิงหาคม 2563 นี้ อยากให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูลล่วงหน้า เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายว่าในหนึ่งปีเราต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของภาษีที่ดินอยู่ที่เท่าไหร่?