5 พันธุ์แพะ แพะเศรษฐกิจ

แพะ ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่กลุ่มชาวเกษตรกรชอบเลี้ยงกัน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง หรือเลี้ยงไว้เพื่อขาย การเลี้ยงแพะมีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ให้ผลผลิตได้รวดเร็วมากกว่าการเลี้ยงโคกระบือ  หากินเองได้ทนทานได้ทุกสภาพอากาศ มีขนาดตัวเล็ก พื้นที่ใช้สอยน้อย และที่สำคัญที่สุดที่คนส่วนใหญ่ชอบการเลี้ยงแพะ คือแพะสามารถให้ผลผลิตได้ ทั้งเนื้อ นม หนัง ขน และ ยังมีการส่งออกแพะไปยังต่างประเทศที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรทุกคนอีกด้วย แต่รู้ไหม สายพันธุ์แพะ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยจะมีเป็นพันธุ์แพะพื้นเมืองในประเทศไทย และ พันธุ์แพะต่างประเทศ  ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างดี มาดูกันว่าจะมีสายพันธุ์แพะอะไรบ้าง

1. พันธุ์แพะพื้นเมืองในประเทศไทย

พันธุ์แพะพื้นเมือง มีหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นแถบตะวันตก จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่จะเป็นแพะจากประเทศอินเดีย หรือปากีสถานมีรูปร่างใหญ่กว่าแพะทางใต้  พันธุ์แพะทางใต้ที่นิยมจะมีหลากหลายสายพันธุ์  พันธุ์แพะทางใต้จะคล้ายกับแพะพันธุ์กัตจัง พันธุ์แพะพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย จะมีลักษณะ สีน้ำตาล  หรือน้ำตาลสลับดำ น้ำหนักตัวอยู่ที่ 20-25 กิโลกรัม แต่สายพันธุ์แพะพื้นเมืองนี้ ผลผลิตเนื้อและนมค่อนข้างต่ำ ทำให้มีการนำเข้าสายพันธุ์แพะจากเมืองนอกเข้ามาเลี้ยงและขยายพันธุ์ด้วย

รูปที่ 1: พันธุ์แพะพื้นเมือง

2. พันธุ์แพะต่างประเทศ

เนื่องจากพันธุ์แพะพื้นเมืองในประเทศไทย มีขนาดเล็ก  ได้รับผลผลิตค่อนข้างต่ำ ทำให้ปศุสัตว์ ได้มีโครงการที่จะปรับปรุงพันธุ์แพะของประเทศไทย ให้มีผลผลิตที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ที่จะได้ผลผลิตทั้งเนื้อและนม ที่สร้างรายได้มากยิ่งขึ้น โดยการนำพันธุ์แพะจากต่างประเทศมาขยายกับพันธุ์แพะพื้นเมือง ซึ่งพันธุ์แพะจากต่างประเทศที่ปศุสัตว์นำมาขยายสายพันธุ์แพะมีอยู่ 4 พันธุ์ที่นิยม

2.1 พันธุ์แพะซาเนน (Saanen)

เรียกได้ว่าเป็นพันธุ์แพะนมที่ให้ปริมาณน้ำนมสูงมากกว่าพันธุ์แพะอื่น ๆ  สายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  ขนสั้น  บางตัวมีสีขาวครีม บางตัวมีน้ำตาลอ่อน  หัวมีลักษณะแบน ดั้งจมูกลาดตรง ใบหน้าไม่โค้งงุ้ม ใบหูเล็ก และชี้ตั้งไปข้างหน้า ไม่มีเขาทั้งเพศผู้  เพศเมีย แต่ส่วนใหญ่การคัดเลือกพ่อพันธุ์ จะนิยมเลือกพ่อพันธุ์ตัวที่มีเขา มักจะพบการเป็นกระเทย ในพันธุ์แพะนี้ค่อนข้างสูง และยังมีอัตราออกลูกแฝดสูงอีกด้วย  แพะตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 70-90 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 50-60 กิโลกรัม  และที่สำคัญแพะพันธุ์ซาเนนให้น้ำนมประมาณวันละ 2 ลิตร ระยะเวลาการให้นมนานถึง 200 วัน ทำให้แพะพันธุ์ซาเนน ได้รับฉายาในกลุ่มแพะว่าเป็น “ราชินีแห่งแพะนม” แต่พันธุ์แพะนี้ มีปัญหาในเรื่องของการปรับตัวกับสภาพอากาศในประเทศไทยไม่ค่อยดีนัก ให้แนะนำเลี้ยงแบบล้อมคอก หรือ ล้อมรั้วตาข่าย (รั้วแพะ) ไว้ตลอดเวลา เพื่อที่ปัญหาในการเจ็บป่วยจะได้น้อยลง และยังได้ผลผลิตที่ดีตามไปด้วย

พันธุ์แพะ ซาเนน (Saanen)

2.2 พันธุ์แพะแองโกล- นูเบียน (Anglo-Nubian)

พันธุ์แพะ แองโกล- นูเบียน (Anglo-Nubian)

เป็นแพะสายพันธุ์นี้นิยมเลี้ยงทั้งแพะเนื้อและแพะนม  พันธุ์แพะนี้ทางกรมปศุสัตว์ได้นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ในประเทศไทยเกือบ 20 ปีแล้ว เพื่อที่จะให้พันธุ์แพะพื้นเมืองในประเทศไทยมีขนาดใหญ่ขึ้น พันธุ์แพะแองโกล- นูเบียน นี้มีขนาดตัวใหญ่มาก น้ำหนักแรกเกิดอยู่ที่ 2-5 กิโลกรัม แพะพันธุ์นี้มีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัวและสีด่างปน  ดั้งจมูกโด่งและงุ้ม ใบหูยาวและปรกลง ปกติแพะพันธุ์นี้จะไม่มีเขา ถ้ามีเขาเขาจะสั้นและเอนแนบติดกับหนังหัว ขนสั้นละเอียดเป็นมัน มีขายาว  ซึ่งช่วยให้เต้านมอยู่สูงทำให้ง่ายต่อการรีดนม แพะพันธุ์นี้สามารถทนต่ออากาศร้อนได้ดี  แต่ในเรื่องผลผลิตแพะพันธุ์นี้จะให้น้ำนมน้อยกว่าแพะพันธุ์อื่นๆ น้ำนมจะได้ประมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน ระยะเวลาให้น้ำนมประมาณ 165 วันเท่านั้นเอง

2.3 พันธุ์แพะบอร์ (Boer)

เป็นสายพันธุ์แพะเนื้อ ที่ทางกรมปศุสัตว์ได้มีการนำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้  เรียกได้ว่าเป็นพันธุ์แพะที่มีโครงสร้างใหญ่และน้ำหนักดี มีลำตัวจะมีสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง   ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักแรกเกิด 4 กิโลกรัม. ตัวโตเต็มที่ตัวผู้ น้ำหนัก 90 กิโลกรัม ตัวเมียน้ำหนัก  65 กิโลกรัม  อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็ว และแพะพันธุ์บอร์ยังสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เก่งอีกด้วย ในเมื่อเรามีราชินีแห่งแพะนมแล้ว  เราต้องมี “ราชาแห่งแพะเนื้อ” นั่นคือแพะสายพันธุ์บอร์นั่นเอง

พันธุ์แพะบอร์ (Boer)

2.4 พันธุ์แพะหลาวซาน (Laoshan)

เป็นแพะนมชั้นยอดของสาธารณรัฐประชาชนจีน พันธุ์แพะหลาวซานขึ้นชื่อเรื่อง การปรับตัวได้ดี เลี้ยงง่าย กินอาหารไม่เลือก มีความต้านทานต่อโรคค่อนข้างสูง ที่สำคัญเป็นพันธุ์ที่มีระยะการให้นม 8-10 เดือน โดยมีปริมาณการให้นมต่อระยะการให้นม ประมาณ 800 กิโลกรัม มีความสมบูรณ์พันธุ์ค่อนข้างสูงมาก โดยลักษณะรูปร่างของพันธุ์แพะหลาวซาน มีรูปร่างและลักษณะคล้ายๆกับพันธุ์แพะซานนพันธุ์แท้ ซึ่งลักษณะนิสัยทั่ว ๆ ไปของแพะนมหลาวซาน คือ กระฉับกระเฉง และร่าเริง โดยเฉพาะลูกแพะชอบที่จะปีนไปตามเขา และกระโดดตามพื้นที่ที่เป็นเนินเขา สูงต่ำ ฝาผนังคอกหรือหลังคาบ้านชอบที่จะอยู่ในบริเวณที่สะอาดและแห้ง และชอบรวมตัวกันเป็นฝูง สามารถกินพืชไร่และหญ้าได้หลายชนิด  และที่เห็นได้ชัดคือลักษณะเด่นของปากแพะ คือ มีฟันที่คม และริมฝีปากบาง จึงชอบกินหญ้าที่มีลำต้นตั้งแต่สั้น ใบไม้ และกิ่งที่อ่อน

ไม่ว่าจะสายพันธุ์แพะประเภทไหน แพะเนื้อ แพะนม  แพะทุกสายพันธุ์ต้องได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี มีวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง ซึ่งวิธีการเลี้ยงแพะมีหลากหลาย คลิก วิธีการเลี้ยงแพะ มีกี่แบบ (บทความ) แพะบางสายพันธุ์อาจจะเหมาะกับการเลี้ยงแบบปล่อย เลี้ยงแบบผูกล่าม หรือ บางสายพันธุ์ต้องเลี้ยงล้อมคอก หรือ ล้อมรั้วตาข่าย (รั้วแพะ ตัวอย่างการใช้งาน) เพื่อจำกัดพื้นที่ไว้ เพราะสภาพร่างกาย หรือการปรับตัวของแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกัน ดังนั้นคนที่เลี้ยงแพะ ควรที่จะศึกษาการเลี้ยงดูอย่างดี เพื่อที่เราจะได้ผลผลิตที่ดี ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น และทำรายได้ให้กับเราอย่างมหาศาล

ตัวอย่างการใช้งานรั้วตาข่ายล้อมแพะ

ตัวอย่างการใช้งานรั้วตาข่ายล้อมแพะ

ตัวอย่างการใช้งานรั้วตาข่ายล้อมแพะ

ตัวอย่างการใช้งานรั้วตาข่ายล้อมแพะ

ช่องทางการสั่งซื้อ