เทวดาน่ารู้

เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ภาษีที่ดิน vs ภาษีโรงเรือน แตกต่างกันอย่างไร?

ในปัจจุบัน รัฐบาลมีการกำหนดให้ยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดิน และแทนที่ด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับปี พ.ศ. 2562 ส่งผลต่อการเรียกเก็บและคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยใช้ระบบใหม่ที่มีการกำหนดอัตราภาษีและขั้นตอนวิธีคำนวณที่แตกต่างจากเดิม

บทความนี้ เราจะพาทุกคนการเปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับปี พ.ศ. 2562 กับระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับ พ.ศ. 2475 แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการคำนวณและกำหนดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ถูกต้องป้องกันความขาดทุนและเสียเงินเพิ่มเติมในรูปของภาษีที่ไม่จำเป็นในภายหลัง  

ก่อนที่เราจะไปสำรวจความเปลี่ยนของระบบภาษีที่ดินทั้ง 2 แบบ ทุกท่านทราบหรือไม่? ว่าทำไมรัฐบาลจะต้องเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีที่ดินใหม่? นั่นก็เพราะรัฐบาลต้องการปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของความรวยและความจน  แก้ปัญหาที่ดินรกร้าง เพิ่มรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้จ่ายภาษีกันมากขึ้นนั่นเอง

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คืออะไร?

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คืออะไร?

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มีการจัดเก็บตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และได้ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562 ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นเงินที่เก็บจากรายได้หรือรายได้ประเมินจากอาคารพาณิชย์ โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินที่ติดกับสิ่งปลูกสร้างนั้น ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่บ้าน อาคาร ตึกแถว ห้องเช่า อพาร์ทเม้นท์ โรงแรม สำนักงาน โรงภาพยนต์ โรงพยาบาล ธนาคาร คลังสินค้า ฯลฯ และสำหรับสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ นั้น หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างบนที่ดินนั้นอย่างถาวร เช่น สะพาน ท่าเรือ อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของที่ดินได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น ให้เช่า ใช้เป็นที่ค้าขาย ใช้เป็นคลังสินค้า ใช้ประกอบอุตสาหกรรม ใช้ประกอบกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร?

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มาแทนที่ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจของประเทศ

ความแตกต่างระหว่างภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือนมีอะไรบ้าง?

ความแตกต่างระหว่างภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือนมีอะไรบ้าง?

 

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

กำหนดใช้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2475

ตั้งแต่ พ.ศ. 2562

ยกเลิกใช้

10 มีนาคม พ.ศ 2562

ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี

เจ้าของทรัพย์สิน

เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และเจ้าของที่ดิน (กรณีที่เป็นคนละเจ้าของ)

ผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใด เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้น

ลักษณะของที่ดินที่ต้องเสียภาษี

โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เจ้าของให้เช่าที่ทำการค้า ที่ไว้สินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรมที่ให้ญาติหรือผู้อื่นอยู่อาศัย ที่ใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ในปีที่ล่วงแล้ว

แบ่งเป็น 4  ประเภท ได้แก่

  1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
  2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
  3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม
  4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

สถานที่ชำระ

สำนักงานเขต

หรือเทศบาลที่โรงเรือนหรือที่ดินนั้นตั้งอยู่

องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.)

อัตราการเสียภาษี

ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี 

ขึ้นอยู่กับมูลค่าที่ดินและประเภทที่ดิน

ฐานภาษี

คำนวนจากค่ารายปีซึ่งถูกประเมินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถยื่นภาษีได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นในปีก่อนหน้า ยกเว้นบ้านที่อยู่อาศัยเอง และทรัพย์สินที่ถูกยกเว้นตามกฎหมาย ตามมาตรา 8

มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด ให้เป็นไปตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน

วิธีคำนวณอัตราภาษี

แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. กรณีให้เช่าโรงเรือนหรือที่ดิน

(ค่าเช่าต่อเดือน x จำนวนเดือนที่ประกอบการ) x ร้อยละ 12.5 = ภาษีที่ต้องจ่าย


2. กรณีโรงเรือนหรือที่ดินที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่สามารถประเมินค่ารายปีได้จากค่าเช่า จะคำนวณโดย ((พื้นที่หน่วยตารางเมตร x อัตราทำเล) x จำนวนเดือนที่ประกอบการ) x ร้อยละ 12.5 = ภาษีที่ต้องจ่าย

แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี


2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี


3. ห้องชุด

ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด  x อัตราภาษี

ค่าปรับและกำหนดโทษ

เริ่มต้น 2.5 – 10%

เริ่มต้น 1 – 40%

สรุป

ย้ำกันอีกครั้งว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้นถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2562 ทำให้การเสียภาษีในปีถัด ๆ ไปต้องยึดตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่าลืมตรวจสอบลักษณะที่ดินเพื่อเตรียมตัวจ่ายภาษีประจำปี เพื่อไม่ให้พลาดการจ่ายภาษีที่มีค่าปรับและโทษที่ต้องรับ หากคุณพลาดไป!