รั้วตาข่ายเทวดา ทนสนิม ใช้นาน 40 ปี*
ยืนยันด้วยผลการทดสอบว่าปริมาณการชุบซิงค์หนาจริง ตามมาตรฐาน ASTM A90
รั้วตาข่าย หรือ รั้วตาข่ายถักปม ที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี หัวใจสำคัญของสินค้าประเภทนี้คือ ลวด ซึ่งลวดที่นำมาผลิตต้องคุณภาพดีผ่านกระบวนการเคลือบกันสนิมหรือชุบซิงค์ (Zinc) ปริมาณการชุบซิงค์คือตัววัดการทนสนิม จากนั้นเอามาเทียบกับสภาพอากาศเพื่อดูอายุการใช้งาน ซึ่งโดยปัจจุบัน รั้วตาข่ายตามท้องตลาดทั่วไป มีหลายประเภท
การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electro Galvanized) คือกระบวนการเคลือบซิงค์บางๆ โดยใช้กระบวนการใช้ไฟฟ้าเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าผ่านทางตัวซิงค์ไปยังลวด เป็นวิธีการชุบซิงค์แบบต้นทุนต่ำ เพราะมีความบางเบาของการชุบซิงค์ เฉลี่ยอยู่ที่ 6-8 กรัม/ตารางเมตร จะไม่เหมาะกับงานนอกอาคารที่มีสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น
การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanized) คือกระบวนการเคลือบโลหะลงไปในบ่อซิงค์ ทำให้ซิงค์เคลือบติดกับโลหะ จากนั้นใช้ลมเป่าเพื่อควบคุมปริมาณซิงค์ โดยการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนมีข้อดีคือ ทนสนิม แต่อย่างไรก็ตามต้องดูที่ปริมาณการชุบซิงค์ ปัจจุบันการชุบซิงค์จะเริ่มตั้งแต่ 20-300 กรัม ส่วนข้อจำกัดของการชุบแบบนี้คือผิวโลหะอาจจะไม่สม่ำเสมอทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของโรงงาน
รั้วตาข่ายเทวดา และ ลวดหนามเทวดา ผลิตจากลวดเหล็กที่ใช้วิธีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษ โดยลวดทุกล็อต ของเราจะมีสุ่มวิธีการทดสอบลวด ว่าในแต่ล็อตซิงค์จะต้องอยู่ในปริมาณที่ได้มาตรฐานกำหนด ซึ่งรั้วตาข่ายเทวดา ลวดหนามเทวดา จะใช้วิธีการทดสอบด้วยการวิเคราะห์ปริมาณสารเคลือบสังกะสี เป็นวิธีทดสอบที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับ มาตรฐานสากลเลือกการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM A90/A 90M-13 เพื่อประเมินว่าปริมาณสังกะสีที่รั้วตาข่ายเทวดา และ ลวดหนามเทวดา นั้นชุบสังกะสีอยู่ที่เท่าไหร่ มีอายุการใช้งานได้ยาวนานกี่ปี
ซึ่งจากผลการทดสอบวิเคราะห์หาน้ำหนักสังกะสีที่เคลือบของ รั้วตาข่ายเทวดา ที่เราได้ทำการทดสอบนั้น มีปริมาณการชุบสังกะสีที่มากกว่า 245 กรัม/ตารางเมตร (ตามมาตรฐาน AS/NZs) เป็นปริมาณการชุบสังกะสีที่หนาที่สุดในตลาดตอนนี้ และเราได้นำผลทดสอบมาเทียบกับอายุการใช้งาน โดยเทียบกับสภาพแวดล้อมของการกัดกร่อน ตามมาตรฐาน EN ISO 9224 : 1992 และเมื่อเทียบกับกราฟอายุการใช้งานที่คาดไว้ รั้วตาข่ายเทวดา จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 40 ปี*
มาตรฐานการทดสอบ ASTM A90/A
วิธีการทดสอบด้วยการวิเคราะห์ปริมาณสารเคลือบสังกะสี
1. การเตรียมการสารละลายที่ใช้ในการทดสอบ
1.1 ละลายแอนทิโมนี ออกไซต์ 20 กรัม ในกรดไฮโดรคลอริก ความหนาแน่นสัมพัทธ์ 1.18 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรในปริมาตร 1000 มิลลิเมตร
1.2 เติมสารละลายที่ได้จากข้อ 1.1 ปริมาตร 5 มิลลิลิตร ลงในกรดไฮโดรคลอริกความหนาแน่น 1.18 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรในปริมาตร 100 มิลลิเมตร ให้เตรียมทันทีก่อนจะเริ่มการทดสอบ
2. วิธีการหาน้ำหนักสังกะสีที่เคลือบ
2.1 ขนาดของชิ้นทดสอบใช้เส้นลวดยาว 300 ถึง 600 มิลลิเมตร และทำความสะอาด ตัวอย่างด้วยไตรคลอโรด์เอทีลีน ล้างน้ำให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2.2 ชั่งน้ำหนักชิ้นทดสอบ ให้มีความละเอียดถึง 1 มิลลิกรัม แล้วนำไปจุ่มในสารละลายที่ได้จากข้อ 1.2 เมื่อสังกะสีละลายจนหมดแล้ว นำชิ้นทดสอบไปล้างน้ำให้สะอาด เช็คให้แห้งแล้วชั่งน้ำหนักอีกครั้ง ให้มีความละเอียดถึง 1 มิลลิกรัม และ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นทดสอบ ให้ละเอียด 0.02 มิลลิเมตร
2.3 คำนวณหาน้ำหนักสังกะสีที่เคลือบ C=[(W1-W2)/W2]× D × M
เมื่อ C = น้ำหนักสังกะสีที่เคลือบ เป็นกรัมต่อตารางเมตร
W1 = น้ำหนักของชิ้นทดสอบ ก่อนจุ่มสารละลาย เป็นกรัม
W2 = น้ำหนักของชิ้นทดสอบ หลังจุ่มสารละลาย เป็นกรัม
D = เส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นทดสอบหลังจากจุ่มในสารละลาย เป็นมิลลิเมตร
M = ตัวคงที่ = 1.96 x 10^3 เมื่อ D เป็นมิลลิเมตร
สังกะสี (Zinc)
*ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการใช้งาน